ผักชี เป็นพืชวงศ์ผักชีและเป็นพืชปีเดียว จะขึ้นเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ฝนตกชุก และอากาศอบอุ่น ผักชี เกิดขึ้นในแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แล้วแพร่พันธุ์ไปยังที่อื่น ทางด้านหนึ่งเดินทางผ่านเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ เข้ามาแพร่พันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกเส้นทางหนึ่งคือเข้าไปยังทวีปอเมริกาใต้ เป็นผักที่นิยมปลูกกันตั้งแต่โบราณ ใบใช้เป็นสมุนไพร เมล็ดถูกใช้เป็นเครื่องเทศ
ชวนปลูก
เมื่อวันเสาร์ที่ 19 กันยายน 2563 ที่ผ่านมาโครงการสวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ได้จัดกิจกรรม “ปลูกผัก ดูไก่ เก็บไข่ ชมสวน” ร่วมกับภาคีเครือข่าย เรียนนอกห้องท่องชุมชน ,เที่ยวไทยเท่ ,ภาคกลางน่าเที่ยว, เคี้ยวเขียว จัดกิจกรรม ณ สวนผักคนเมือง ตำบล ไทรม้า จังหวัด นนทบุรี โดยกิจกรรมวันนี้ได้เปิดโอกาส ให้เด็กๆ ได้ เรียนรู้ เรื่องการกินอยู่ และใกล้ชิดธรรมชาติ…
บางทีเวลาเรารดน้ำผัก รดน้ำต้นไม้ เรามักมีข้อสงสัยว่าเรารดน้ำมากไปไหม ผักจะเน่าไหม หรือรดน้ำน้อยไปไหม ผักจะแห้งตายไหม จะเติบโตไม่ดีไหม ? โดยหลัก ๆ แล้ว จะรดน้ำมากน้อยแค่ไหน มีสิ่งที่ควรพิจารณาหลัก ๆ อยู่ 5 ประการ
“กะหล่ำปลีมีถิ่นกำเนิดจากแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน” กะหล่ำปลีเป็นพืชวงศ์ผักกาด มีอายุหลายปี มีถิ่นกำเนิดจากแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่อากาศค่อนข้างอุ่นแม้ในฤดูหนาว มีช่วงแล้งไร้ฝนสุดแห้งแล้งในฤดูร้อนกับช่วงฝนตกชุกในช่วงฤดูฝนตลอดจนฤดูหนาวที่แบ่งแยกกันอย่างชัดเจน กะหล่ำปลีชอบขึ้นอยู่ตามรอยแยกของผาหิน และแผ่ขยายรากไปพร้อมกับบรรดาต้นหญ้า โดยในถิ่นดั้งเดิม กะหล่ำปลีจะออกดอกในฤดูร้อนที่แห้งแล้ง และเปลี่ยนเป็นเมล็ดในช่วงปลายฤดูร้อน เมล็ดจะร่วงหล่นตามหินผาหล่นลงดินและงอกขึ้นมาใหม่เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝน และจะงอกงามในช่วงฤดูหนาว สายพันธุ์ดั้งเดิมของกะหล่ำปลีเป็นพวกเดียวกับผักเคล (Kale) จากกระบวนการคัดเลือกชนิดพันธุ์ที่มีลักษณะเป็นมาเพาะปลูก จึงกลายเป็นกะหล่ำปลีหัวกลมแบบที่เราเห็นในทุกวันนี้ เคล็ดลับการปลูกกะหล่ำปลี 1.ใช้ปุ๋ยหมักที่ยังหมักไม่สมบูรณ์ กะหล่ำปลีชอบดินที่มีธาตุอาหารต่ำ ถ้าปลูกในแปลงดินอุดมสมบูรณ์ที่หลงเหลือจากการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์มาอย่างต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยรองพื้น ถ้าเป็นสวนที่ขาดสารอาหารจากการเพิ่งเริ่มเพาะปลูกหรือใช้ปุ๋ยเคมีมาก่อน จำเป็นต้องปรับปรุงดิน ขอแนะนำให้ใช้ปุ๋ยที่มีกลิ่นแอมโมเนียเล็กน้อยอย่าง ปุ๋ยคอกมูลวัวเป็นปุ๋ยรองพื้น เพราะว่ารากของกะหล่ำปลีจะมีแบคทีเรียที่มีความสามารถในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุได้ดีอาศัยอยู่ด้วย ให้ใส่ปุ๋ยหมักที่ยังหมักไม่สมบูรณ์ประมาณ 3-4 กิโลกรัม ต่อพื้นที่…
วันนี้เราจะมาแนะนำการปลูกมะเขือเทศตามถิ่นกำเนิดกันนะคะ โดยเราได้อ้างอิงจากหนังสือ “ปลูกพืชตามนิสัยผัก” ซึ่งเขียนโดย Toshio Kijima โดยถ้าเราจะปลูกผักตามนิสัย ก่อนจะปลูกมะเขือเทศเราต้องรู้ก่อนว่า มะเขือเทศเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดจากที่ราบสูงบริเวณเทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งแห้งแล้งและฝนตกน้อย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ แสงแดดร้อนระอุตลอดวัน
นอกจากการปลูกผักจะมีส่วนช่วยลดขยะด้วยการเปลี่ยนขยะอินทรีย์มาเป็นปุ๋ยแล้ว ยังสามารถนำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้เป็นภาชนะปลูกอย่างสร้างสรรค์และคุ้มค่าอีกด้วย
สถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นตอนนี้ อาจทำให้หลายคนอาจเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องการพึ่งตนเองมากขึ้น บางคนอาจใช้ช่วงเวลานี้ในการเริ่มต้นปลูกผักลงกระถาง หรือกระบะเล็กๆที่บ้าน และเชื่อว่าหลายคนอาจกำลังฝันถึงการปลูกผัก ทำสวน มีชีวิตที่เรียบง่าย สอดคล้องสัมพันธ์กับธรรมชาติ ในพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ในเมือง หรือพื้นที่ในชนบท สิ่งสำคัญในการเริ่มต้น นอกจากการเรียนรู้เรื่องเทคนิคการปลูกผัก ทำสวนแล้ว เรื่องของการออกแบบพื้นที่อย่างเข้าใจ ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เรามาดูกันว่ามีสิ่งใดที่ควรพิจารณา ศึกษา หาข้อมูล เพื่อนำมาประกอบการออกแบบสวนในฝันของเราบ้าง
หากบ้านเรามีพื้นที่น้อย การทำสวนผักแนวตั้งก็เป็นหนึ่งในวิธีการที่น่าสนใจ ซึ่งใช้หลักการเดียวกับการปลูกผักในภาชนะทั่วไป และสามารถออกแบบสวนผักให้เหมาะสมกันพื้นที่ของเราได้ ซึ่งมีหลักการทำที่ไม่ยากดังนี้
หากว่าเรามีที่ดินแปลงเล็กๆ ที่อยู่หลังบ้านเรา แต่ปล่อยว่างไว้เฉยๆ เราก็สามารถดัดแปลงที่ดินหลังบ้านเรามาเป็นพื้นปลูกผักสวนครัวไว้ทานได้ โดยทั่วไปแล้ว การทำแปลงปลูกผักสามารถทำได้ 2 วิธี
เชื่อว่าหลายคนที่อาศัยอยู่ใจกลางเมือง มีความคิดที่อยากจะปลูกผักปลอดสารเคมีไว้ทานเองในบ้าน และที่อยู่อาศัยของหลายคนก็จะเป็นตัวอาคาร หรือ ตึกแถว ซึ่งบ่อยครั้ง มักไม่มีที่ดินว่างๆ หน้าบ้านไว้ปลูกผักเลย